วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เสาวรส (Passion Fruit)


                 เสาวรส หรือ กะทกรกฝรั่ง หรือ กะทกรกสีดา หรือ กะทกรกยักษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora edulis, อังกฤษ: Passionfruit, สเปน: Maracujá)  เป็นไม้เถาเลื้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ผลเป็นรูปกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ ทั้งสีม่วง เหลือง ส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสอมหวาน

การใช้ประโยชน์
                ผลสุกของเสาวรสนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์ หรือเติมลงในน้ำผลไม้ชนิดอื่นเพื่อเพิ่มกลิ่น  ในทวีปอเมริกาใต้รับประทานเปลือกของเสาวรสสุก หรือนำไปปั่นรวมกับน้ำตาลและน้ำเสาวรสเป็นเครื่องดื่มที่เรียก Refresco นำเนื้อเสาวรสไปทำขนมได้หลายชนิดทั้งเค้ก ไอศกรีม แยม เยลลี ยอดเสาวรสนำไปแกงหรือกินกับบบน้ำพริกลล เมล็ดนำไปสกัดน้ำมันพืช ทำเนยเทียม เปลือกนำไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้งเป็นอาหารสัตว์ เปลือกเสาวรสที่อ่อนบางพันธุ์มีสารประกอบไซยาไนต์เล็กน้อยโดยเฉพาะผลสีม่วง แต่เมื่อนำเปลือกมาทำแยมด้วยความร้อนสูง สารประกอบไซยาไนต์จะหายไป

การใช้ประโยชน์ในประเทศต่างๆมีดังนี้
บราซิล มูสเสาวรสเป็นของหวานที่พบได้ทั่วไป เมล็ดเสาวรสนิยมใช้แต่งหน้าเค้ก ในการปรุงCaipirinha นิยมใช้เสาวรสแทนมะนาว
โคลอมเบีย เป็นผลไม้ที่สำคัญในการทำน้ำผลไม้และขนม เรียกเสาวรสว่า "Maracuyá"
สาธารณรัฐโดมินิกันเรียกเสาวรสว่า chinola ใช้ทำน้ำผลไม้และใช้แต่งรสไซรับ กินเป็นผลไม้สดกับน้ำตาล
ฮาวาย ทั้งเสาวรสสีม่วงและสีเหลืองใช้กินเป็นผลไม้ น้ำเชื่อมรสเสาวรสใช้แต่งหน้าน้ำแข็ง ไอศกรีม และใช้เป็นส่วนผสมในเค้ก คุกกี้ แยม เยลลี่ เนย
อินโดนีเซีย มีเสาวรสสองชนิด คือชนิดสีขาวกับสีเหลือง สีขาวกินเป็นผลไม้ สีเหลืองใช้ทำน้ำผลไม้ และเคียวกับน้ำตาลเป็นไซรับ
นิวซีแลนด์ และ ออสเตรเลีย นิยมกินผลสดเป็นอาหารเช้าในช่วงฤดูร้อน เช่นทำฟรุตสลัด เสาวรสใช้ทำขนมหลายอย่าง เช่นแต่งหน้าเค้ก pavlova ไอศกรีม ใช้แต่งรสชีสเค้ก และมีน้ำอัดลมรสเสาวรสในออสเตรเลีย
ปารากวัย ใช้ทำน้ำผลไม้ ใช้ผสมในเค้กมูส ชีสเค้ก ใช้แต่งรสโยเกิร์ตและคอกเทล
เม็กซิโก ใช้ทำน้ำผลไม้หรือรับประทานผลกับพริกป่นและน้ำเลมอน
เปอร์โตริโก เรียกเสาวรสว่า "Parcha" นิยมใช้เป็นยาลดความดัน  ใช้ทำน้ำผลไม้ ไอศกรีมหรือเพสตรี
เปรูใช้เสาวรสทำขนมหลายชนิดรวมทั้งชีสเค้ก ใช้ทำน้ำผลไม้ ผสมใน ceviche และคอกเทล
ฟิลิปปินส์รับประทานเป็นผลไม้ มีขายทั่วไปแต่ไม่เป็นที่นิยมมาก
แอฟริกาใต้ เสาวรสรู้จักกันในชื่อ Granadilla ใช้แต่งรสโยเกิร์ต น้ำอัดลม กินเป็นผลไม้หรือใช้แต่งหน้าเค้ก
ศรีลังกา นิยมดื่มน้ำเสาวรสเป็นน้ำผลไม้ [5]
สหรัฐอเมริกา ใช้ผสมในน้ำผลไม้ผสม
เวียดนาม รับประทานเสาวรสปั่นกับน้ำผึ้งและน้ำแข็ง

ผลเสาวรสสุกมีบีตา-แคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง น้ำเสาวรสมีวิตามินซีมากและเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผลสีเหลืองใช้ในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ ส่วนผลสีม่วงนิยมบริโภคสด เสาวรสมีไลโคพีน ในชั้นเพอริคาร์บ


  1. เสาวรส ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส 
  2. ช่วยในการชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ 
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง 
  4. ช่วยในการบำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามินเอรวมอยู่ด้วย 
  5. น้ำเสาวรสช่วยให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น 
  6. น้ำเสาวรสช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย มีวิตามินบี2 ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม 
  7. มีแคลเซียมซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมและกระดูกหัก 
  8. มีโพแทสเซียมสูงสูง ที่ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใส ด้วยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง 
  9. มีแมกนีเซียม ซึ่งช่วยในการเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน 
  10. มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง นิยมนำมาดื่มเป็นน้ำผลไม้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้รวม ใช้ทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น 


สำหรับวิธีทำน้ําเสาวรส อย่างแรกให้เตรียม เสาวรสที่สุกแล้ว 3 ลูก / น้ำเชื่อมครึ่งถ้วย / เกลือป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ / น้ำต้มสุกแช่เย็นหนึ่งถ้วย
หลังจากนั้นนำเสาวรสไปล้างให้สะอาดทั้งเปลือก แล้วนำมาผ่าครึ่งตามขวาง แล้วนำช้อนตักเมล็ดเนื้อเสาวรส น้ำออกให้หมด แล้วนำมาปั่นกับน้ำต้มสุกจนละเอียด แล้วกรองกากและเมล็ดออกด้วยการใช้ผ้าขาวบางหรือกระชอน
หลังจากนั้นนำน้ำเสาวรสที่กรองเรียบร้อยแล้วลงในเครื่องปั่น ใส่น้ำเชื่อม เกลือป่น นำแข็งตามลงไปปั่น เสร็จแล้วก็จะได้น้ำเสาวรสฝีมือของเราแล้ว นำมาใช้แต่งกลิ่นหรือรสชาติในโยเกิร์ต น้ำอัดลม เป็นต้น

เนื้อเสาวรสนำไปทำขนมได้หลายชนิด เช่น เค้ก แยม เยลลี่ ไอศกรีม เป็นต้น
ใช้นำไปประกอบของหวาน เช่น นำเมล็ดเสาวรสมาใช้แต่งหน้าเค้ก
ใช้นำมาประกอบอาหาร เช่น การนำยอดเสาวรสไปแกงหรือกินกับน้ำพริก

เมล็ดของเสาวรสสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมันพืชได้ ใช้ทำเนยเทียม จากเมล็ดเสาวรส
ใช้เป็นอาหารสัตว์ ด้วยการนำเปลือกไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้ง
เปลือกเสาวรสสามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้
ใช้ทำเป็นน้ำมันนวดผ่อนคลาย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยผ่อนคลายได้ดี
ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางเช่น ผลิตภัณฑ์กันแดด ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์รักษาสิว เป็นต้น
ช่วยในการสมานผิวรักษาเนื้อเยื่อผิวหนัง ช่วยปรับสมดุลในร่างกายและลดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน

ที่เปอร์โตริโก นิยมนำเสาวรสมาใช้ในการลดความดันโลหิต ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยในการฟื้นฟูตับและไตให้มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยในการกำจัดสารพิษในเลือด ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยในการบำรุงปอด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ใบสดนำมาใช้พอกแก้หิดได้ ดอกใช้ขับเสมหะ ช่วยแก้ไอได้ เมล็ดมีสารที่ทำหน้ายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี

โภชนาการของเสาวรส ต่อ 100 กรัม
  1. พลังงาน 97 กิโลแคลอรี่ 
  2. คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม 
  3. น้ำตาล 11.2 กรัม 
  4. เส้นใย 10.4 กรัม 
  5. ไขมัน 0.7 กรัม 
  6. โปรตีน 2.2 กรัม 
  7. วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม 8% 
  8. เบต้าแคโรทีน 734 ไมโครกรัม 7% 
  9. วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม 11% 
  10. วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม 10% 
  11. วิตามินบี6 0.1 มิลลิกรัม 8% 
  12. วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม 4% 
  13. โคลีน 7.6 มิลลิกรัม 2% 
  14. วิตามินซี 30 มิลลิกรัม 36% 
  15. วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม 1% 
  16. ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม 1% 
  17. ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม 12% 
  18. ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม 8% 
  19. ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม 10% 
  20. โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม 7% 
  21. ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม 2% 
  22. ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น