ชา ถูกจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูป หลังจากการเก็บเกี่ยว ใบของต้นชาจะถูกทิ้งให้สลด และ "บ่ม" โดย ทำให้เอนไซม์ในใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ใบชาจะมีสีเข้มขึ้น คลอโรฟิลล์ในใบชาจะแตกตัว กลายเป็นสารแทนนินที่ให้รสฝาด ต่อจากนั้น ต้องหยุดการทำงานของเอนไซม์ โดยใช้ความร้อน เพื่อให้หยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น โดยในชาดำ กระบวนการนี้จะดำเนินคู่กันไปกับการทำให้แห้ง
หากไม่ระมัดระวังในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิระหว่างกระบวนการผลิต ใบชาอาจขึ้นรา เกิดปฏิกิริยาสร้างสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งขึ้นได้ ทำให้รสชาติเสียไป และอันตรายต่อการบริโภค
ชา สามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ดังนี้ต่อไปนี้
ชาขาว: ตูมชาและยอดอ่อนชาที่ถูกทิ้งให้สลด แต่ไม่ได้บ่ม เมื่อชงชาแล้วจะได้ครื่องดื่มที่มีสีเหลืองอ่อน
ชาเหลือง: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลด และไม่ได้บ่ม แต่ทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง
ชาเขียว: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลดและไม่ได้บ่ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีเขียวอ่อน
ชาแดง: ใบของชาเขียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้เป็นใบชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีน้ำตาลแดง
ชาอูหลง: ใบชาที่ทิ้งให้สลด นวด และบ่มเล็กน้อย เรียกได้ว่าเป็นชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำ
ชาดำ: ใบชาที่ทิ้งให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ เครื่องดื่มที่ได้มีสีแดงเข้มจนถึงสีดำ
ชาหมัก: ชาเขียวที่ผ่านกระบวนการหมักนานนับปี
นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์พบว่า การดื่มน้ำชา ช่วยให้สมองสดชื่น ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนั้น ชาบางชนิด เช่น ชาอัญชัน ชาใบหม่อน เจี่ยวกู้หลาน และชาหญ้าหวาน ยังมีประโยชน์ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย ช่วยยับยั้งโรคมะเร็ง และโรคเบาหวานอีกด้วย
ประโยชน์ ของชา
- ใบนำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน ช่วยกระตุ้นทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วงนอน ทำให้ตาสว่าง กระตุ้นให้หายเหนื่อย (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ หน้ามืดตามัว (ใบ)
- ใบชานำมานึ่งแล้วหมักกับเกลือ ทำเป็นคำๆ ใช้อม จะช่วยทำให้คอชุ่ม แก้อาการกระหายน้ำได้ดีมาก (ใบ)
- ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ใบ)
- ใบชามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น (ใบ)
- รากชามีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น แก้โรคหัวใจบวมน้ำ (ราก)
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
- กิ่งและใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืด (ใบ,กิ่ง)
- ใบมีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมานใช้รักษาและลดอาการท้องร่วง (ใบ)
- ใบใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ)
- ใบแห้ง ใช้ชงใส่น้ำตาล กินเป็นยารักษาอาการปวดท้อง (ใบ)
- รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
- ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
- ช่วยแก้ตับอักเสบ (ราก)
- ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษ (ใบ)
- กิ่งและใบ นำมาชงแก่ๆ ใช้รักษาอาการเป็นพิษของยาอันตรายที่เป็นอัลคาลอยด์ต่างๆ (กิ่งและใบ)
- รากมีสรรพคุณช่วยต้านเชื้อ แก้ปากเป็นแผล (ราก)
- กิ่งมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล (กิ่ง)
- ใบใช้เป็นชะล้างแผล สมานแผล แก้บวม (ใบ)
- ราก เมล็ดและน้ำมันใช้เป็นยาภายนอก แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้แผลเปื่อย (ราก,เมล็ดและน้ำมัน)
- กากใบชาใช้เป็นยาพอกแผล สำหรับแผลที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก (กากใบชา)
- ส่วนกิ่งและใบใช้ทำเป็นน้ำยาสมานของกรดแทนนิน ใส่แผลไหม้พอง (กิ่งและใบ)
- ราก เมล็ดและน้ำมัน ใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน (ราก,เมล็ดและน้ำมัน)
- ส่วนใบก็มีสรรพคุณรักษากลากเกลื้อนได้เช่นกัน (ใบ)
- ใบชามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี (ใบ)
ผู้ป่วยไม่ควรดื่มชา เนื่องจากยาที่กินเข้าไป อาจทำปฏิกิริยากับชานั้นๆได้
ไม่ควรดื่มชา ใกล้ๆเวลาอาหาร ควรดื่มหลังอาหารไป2-3ชั่วโมง เนื่องจากจะไปรวมตัวกับสารอาหารสำคัญได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น