วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Encapsulation

Encapsulation Nano Technology
              Encapsulation is prevalent in the evolutionary processes of nature, where nature protects the materials from the environment by engulfing them in a suitable shell. These natural processes are well known and have been adopted and applied in the pharmaceutical, food, agricultural, and cosmetics industries.

               In recent years, because of the increased understanding of the material properties and behaviors at nanoscale, research in the encapsulation field has also moved to the generation of nanocapsules, nanocontainers, and other nano devices. One such example is the generation of self-healing nanocontainers holding corrosion inhibitors that can be used in anti-corrosion coatings. The processes used to generate such capsules have also undergone significant developments. Various technologies based on chemical, physical, and physico-chemical synthesis methods have been developed and applied successfully to generate encapsulated materials.


              Because of the increasing potential and value of the new nanotechnologies and products being used in a large number of commercial processes. 


             Microencapsulation is a process in which tiny particles or droplets of a food are surrounded by a coating to give small capsules. These capsules can be imagined as tiny uniform spheres, in which the particles at the core are protected from outside elements by the protective coating. For example, vitamins can be encapsulated to protect them from the deterioration they would undergo if they were exposed to oxygen. 

          Encapsulation Nanotechnologiesis of prime interest to a wide range of materials scientists and engineers, both in industry and academia.




วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กาแฟ (Coffee)


               กาแฟ (Coffee)  เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จากต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก  กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มันมีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบัน กาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก

              เป็นที่เชื่อกันว่าสรรพคุณชูกำลังจากเมล็ดของต้นกาแฟนั้นถูกพบเป็นครั้งแรกในเยเมน แถบอาระเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอธิโอเปีย และการปลูกต้นกาแฟในสมัยแรกได้แพร่ขยายในโลกอาหรับ  หลักฐานบันทึกว่าการดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อันเป็นหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้และเก่าแก่ที่สุด ถูกพบในวิหารซูฟี ในเยเมน แถบอาระเบีย  จากโลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังทวีปยุโรป อินโดนีเซีย และทวีปอเมริกา ในระหว่างที่กาแฟเริ่มเดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางสู่ทวีปยุโรป กาแฟได้ถูกส่งผ่านไปยังซิซิลีและอิตาลีในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นผ่านตุรกีไปยังกรีซ ฮังการี และออสเตรียในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากอิตาลีและออสเตรีย กาแฟได้แพร่ขยายไปยังส่วนที่เหลือของทวีปยุโรป กาแฟได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมหลายแห่งตลอดประวัติศาสตร์ ในแอฟริกาและเยเมน มันถูกใช้ร่วมกับพิธีกรรมทางศาสนา ผลที่ตามมาคือ ศาสนจักรเอธิโอเปีย ได้สั่งห้ามการบริโภคกาแฟตลอดกาล จนกระทั่งถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2  มันยังได้ถูกห้ามในจักรวรรดิออตโตมันระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากสาเหตุทางการเมือง  และมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป

            ผลกาแฟ ซึ่งบรรจุเมล็ดกาแฟ เป็นผลผลิตจากไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็กในจีนัส Coffea หลายสปีชีส์ โดยสายพันธุ์ที่มีการปลูกโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ Coffea arabica และกาแฟ "โรบัสต้า" ที่ได้จากชนิด Coffea canephora ซึ่งมีรสเข้มกว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อราสนิมใบกาแฟ (Hemileia vastatrix) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง สายพันธุ์กาแฟทั้งคู่มีการปลูกในละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้ว ผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวม นำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้น เมล็ดจะถูกคั่วในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ กาแฟสามารถตระเตรียมและนำเสนอได้ในหลายวิธี

             กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก โดยในปี ค.ศ. 2004 กาแฟเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ  และเป็นพืชที่มีการส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ในปี ค.ศ. 2005  กาแฟได้รับการโต้เถียงบางส่วนในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน่

ประวัติ
             เป็นที่เชื่อกันว่าบรรพบุรุษชาวเอธิโอเปียของชาวโอโรโมในปัจจุบัน เป็นคนกลุ่มแรกซึ่งรู้จักผลกระทบกระตุ้นประสาทของเมล็ดจากต้นกาแฟ  อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานโดยตรงซึ่งชี้ชัดว่าต้นกาแฟมีการปลูกอยู่ที่ใดในทวีปแอฟริกา หรือผู้ใดในกลุ่มชาวพื้นเมืองซึ่งอาจใช้มันเป็นสารกระตุ้น หรือแม้แต่รู้ถึงผลกระทบนั้น ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 17 เรื่องราวของ คาลดี เด็กเลี้ยงแกะชาวเอธิโอเปียในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ผู้ซึ่งค้นพบต้นกาแฟนั้น มิได้ปรากฏชื่อในงานเขียนจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1671 หรืออาจเป็นเพียงเรื่องปลอมเท่านั้น  จากเอธิโอเปีย สันนิษฐานว่ากาแฟได้แพร่กระจายไปยังเยเมน ที่ซึ่งมีการดื่มและผลิตขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นได้แพร่ไปยังอียิปต์  ในขณะที่ หลักฐานซึ่งเชื่อถือได้สามารถสืบย้อนไปได้ไกลที่สุด ถึงการดื่มกาแฟในวิหารซูฟีในม็อคค่าในเยเมน  ที่ซึ่งในอาระเบีย ได้มีการคั่วและชงเมล็ดกาแฟเป็นครั้งแรก อันเป็นวิธีที่คล้ายคลึงกับการเตรียมกาแฟ ภายในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กาแฟได้แพร่ขยายไปทั่วถึงตะวันออกกลาง เปอร์เซีย ตุรกี และแอฟริกาเหนือ

             ในปี ค.ศ. 1583 เลโอนาร์ด เราวอล์ฟ แพทย์ชาวเยอรมัน ได้บรรยายถึงกาแฟหลังจากท่องเที่ยวในดินแดนตะวันออกใกล้เป็นเวลากว่าสิบปีไว้ว่าดังนี้:
             เครื่องดื่มที่มีสีดำเหมือนหมึก ใช้รักษาโรคภัยได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับท้อง ผู้ดื่มจะดื่มในตอนเช้า มันเป็นการนำน้ำและผลไม้จากไม้พุ่มที่เรียกว่า bunnu

             — เลโอนาร์ด เราวอล์ฟ ใน Reise in die Morgenländer
              จากโลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังอิตาลี การค้าขายระหว่างเวนิซกับแอฟริกาเหนือ อียิปต์และตะวันออกกลางที่เจริญขึ้น ทำให้อิตาลีได้รับสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึงกาแฟด้วย หลังจากนั้น กาแฟก็ได้แพร่กระจายจากเมืองท่าเวนิซไปทั่วยุโรป กาแฟได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ลงความเห็นว่ามันเป็นเครื่องดื่มสำหรับคริสเตียน ในปี ค.ศ. 1600 แม้ว่าจะมีการร้องเรียนให้ยกเลิก "เครื่องดื่มมุสลิม" ก็ตาม ร้านกาแฟแห่งแรกในทวีปยุโรปเปิดในอิตาลีในปี ค.ศ. 1645  ชาวดัตช์เป็นชนชาติแรกที่นำเข้ากาแฟเป็นจำนวนมาก และฝ่าฝืนข้อห้ามของอาหรับเกี่ยวกับการส่งออกพืชและเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่ว เมื่อ Pieter van den Broeck ลักลอบนำเข้ากาแฟจากเอเดนไปยังยุโรปในปี ค.ศ. 1616  ในภายหลังชาวดัตช์ยังได้นำไปปลูกในเกาะชวาและซีลอน  ซึ่งผลผลิตกาแฟจากเกาะชวาสามารถส่งไปยังเนเธอร์แลนด์ได้ในปี ค.ศ. 1711  และด้วยความพยายามของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษเช่นเดียวกัน กาแฟเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1657 และเข้าสู่ออสเตรียและโปแลนด์ หลังจากยุทธการเวียนนา เมื่อปี ค.ศ. 1683 ซึ่งทหารสามารถยึดเสบียงของทหารออตโตมานเติร์กที่พ่ายแพ้ในการรบครั้งนั้น
                 หลังจากนั้น กาแฟได้เข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงยุคอาณานิคม แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกัน ปริมาณความต้องการกาแฟได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนพวกพ่อค้ากักตุนสินค้าเอาไว้และปั่นราคาขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งบางส่วนเป็นผลมาจากการที่พ่อค้าชาวอังกฤษไม่สามารถนำเข้าชาได้มากนัก  หลังจากสงครามปี 1812 ในช่วงที่อังกฤษงดการนำเข้าชาเป็นการชั่วคราว ชาวอเมริกันจึงหันมาดื่มกาแฟแทน และมีปริมาณความต้องการสูงมากในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของเทคโนโลยีการต้มเหล้าทำให้กาแฟกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน  แต่ในอังกฤษ ปริมาณการบริโภคกาแฟกลับลดลง และชาวอังกฤษหันไปบริโภคชาแทนระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 เครื่องดื่มชาเป็นเครื่องดื่มซึ่งเตรียมขึ้นได้ง่ายกว่า และหาซื้อได้ในราคาถูกจากการยึดครองอินเดียและอุตสาหกรรมชาในอินเดียของอังกฤษ

ชีววิทยา
                ต้นกาแฟเป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนแถบแอฟริกาและเอเชียใต้  กาแฟถูกจัดให้อยู่รวมกับพืชมีดอก ของวงศ์ Rubiaceae ถูกจัดเป็นต้นไม้ประเภทไม่ผลัดใบ ต้นกาแฟสามารถสูงได้ถึง 5 เมตรถ้าไม่เล็มออก ใบของต้นกาแฟมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ขนาดโดยเฉลี่ยยาว 10-15 เซนติเมตร และกว้าง 6 เซนติเมตร ดอกของต้นกาแฟมีสีขาว มีกลิ่นหอม และจะบานพร้อมกันทั้งต้น ผลกาแฟมีลักษณะรียาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร  ผลกาแฟอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุก สีของเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และเมื่อนำไปผึ่งให้แห้ง สีของเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มและสีดำในที่สุด ผลกาแฟแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่สองเมล็ด แต่ผลกาแฟประมาณ 5-10% จะมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว  เมล็ดจำพวกนี้จะเรียกว่า พีเบอร์รี่ โดยปกติแล้ว ผลกาแฟจะสุกภายในเจ็ดถึงเก้าเดือน

การเพาะปลูก
                กาแฟมักจะได้รับการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด วิธีดั้งเดิมในการปลูกกาแฟคือการใส่เมล็ดกาแฟจำนวน 20 เมล็ดในแต่ละหลุม เมื่อย่างเข้าฤดูฝน เมล็ดกาแฟครึ่งหนึ่งจะถูกกำจัดตามธรรมชาติ เกษตรกรมักจะปลูกต้นกาแฟร่วมกับพืชผลประเภทอื่น ๆ อย่างเช่น ข้าวโพด ถั่วหรือข้าว ในช่วงปีแรก ๆ ของการเพาะปลูก

                กาแฟสายพันธุ์หลักที่ปลูกกันทั่วโลกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ Coffea canephora และ Coffea arabica กาแฟอาราบิกา (ผลผลิตจาก Coffea arabica) ถูกพิจารณาว่าเหมาะแก่การดื่มมากกว่ากาแฟโรบัสตา (ผลผลิตจาก Coffea canephora) เพราะกาแฟโรบัสตามักจะมีรสชาติขมกว่าและมีรสชาติน้อยกว่ากาแฟอาราบิกา ด้วยเหตุผลดังกล่าว กาแฟที่เพาะปลูกกันจำนวนกว่าสามในสี่ของโลกจึงเป็น Coffea arabica  อย่างไรก็ตาม Coffea canephora สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถก่อให้เกิดโรคได้น้อยกว่า Coffea arabica และสามารถปลูกได้ในสภาพแวดล้อมที่ Coffea arabica ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ กาแฟโรบัสตามีปริมาณคาเฟอีนผสมอยู่มากกว่ากาแฟอาราบิกาอยู่ประมาณ 40-50%  ดังนั้น ธุรกิจกาแฟจึงมักใช้กาแฟโรบัสตาทดแทนกาแฟอาราบิกาเนื่องจากมีราคาถูกกว่า กาแฟโรบัสตาคุณภาพดีมักจะใช้ผสมในเอสเพรสโซเพื่อให้เกิดฟองและลดค่าวัตถุดิบลง  นอกจากกาแฟทั้งสองสายพันธุ์นี้แล้ว ยังมี Coffea liberica และ Coffea esliaca ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพืชท้องถิ่นของประเทศไลบีเรียและทางตอนใต้ของประเทศซูดานตามลำดับ

                 เมล็ดกาแฟอาราบิกาส่วนใหญ่ปลูกในละตินอเมริกา แอฟริกาตะวันออก อาราเบียหรือเอเชีย ส่วนเมล็ดกาแฟโรบัสตาปลูกในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ไปจนถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนของประเทศบราซิล  เมล็ดกาแฟที่ปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันส่งผลให้เมล็ดกาแฟของแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัว อย่างเช่น รสชาติ กลิ่น สัมผัสและความเป็นกรด ลักษณะรสชาติของกาแฟนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ปลูกเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กำเนิดและกระบวนการผลิตด้วย  ซึ่งโดยปกติแล้ว ความแตกต่างนี้จะสามารถรับรู้กันในท้องถิ่นเท่านั้น

การผลิตเมล็ดกาแฟ
การคั่ว
               ผลกาแฟและเมล็ดกาแฟต้องผ่านกระบวนการมากมายก่อนที่จะกลายมาเป็นเมล็ดกาแฟคั่ว ขั้นแรก กาแฟจะถูกเลือกสรร โดยใช้มือเป็นส่วนใหญ่ จากนั้น นำมาจัดเรียงตามความสุก สี จากนั้นเนื้อกาแฟจะถูกนำออกโดยเครื่องจักร ส่วนเมล็ดกาแฟจะถูกหมักเพื่อกำจัดชั้นเมือกบาง ๆ ที่เกาะอยู่ตามเมล็ด เมื่อกระบวนการหมักเสร็จสิ้น เมล็ดกาแฟจะถูกล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำบริสุทธิ์คุณภาพสูงเพื่อกำจัดกากที่เกิดจากการหมัก ซึ่งก่อให้เกิดน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนสูงปริมาณมาก หลังจากนั้น เมล็ดกาแฟจะถูกนำไปตากแห้ง จัดเรียงและระบุว่าเป็นเมล็ดกาแฟเขียว

               ขั้นตอนต่อไปคือการคั่วเมล็ดกาแฟเขียว โดยปกติแล้ว กาแฟมักจะถูกจำหน่ายหลังจากคั่วแล้ว และกาแฟทุกรูปแบบจำเป็นต้องคั่วก่อนที่จะบริโภค กาแฟสามารถคั่วได้โดยผู้ประกอบการหรือคั่วเองได้ที่บ้าน กระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟจะส่งผลต่อรสชาติของเมล็ดกาแฟ เนื่องจากเมล็ดกาแฟมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและทางเคมี เมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วจะมีมวลลดลงเพราะสูญเสียความชื้นไป แต่จะมีปริมาตรมากขึ้น ทำให้มันมีความหนาแน่นลดลง ความหนาแน่นของเมล็ดกาแฟเองก็ส่งผลต่อความเข้มของกาแฟและความจำเป็นในการบรรจุ กระบวนการคั่วจะเริ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิภายในเมล็ดกาแฟสูงถึง 200 °C แม้ว่าเมล็ดกาแฟแต่ละประเภทจะมีความชื้นและความหนาแน่นที่แตกต่างกัน และยังคั่วด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกัน  ระหว่างการคั่ว ปฏิกิริยารีดอกซ์ของน้ำตาลจะเกิดขึ้นภายในเมล็ดกาแฟ หลังจากที่ความร้อนมหาศาลได้เผาแป้งที่อยู่ในเมล็ดกาแฟ และเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวซึ่งจะเริ่มเกรียม และเปลี่ยนสีของเมล็ดกาแฟ  ระหว่างกระบวนการคั่ว เมล็ดกาแฟจะสูญเสียซูโครสอย่างรวดเร็วและอาจสูญเสียไปทั้งหมดหากคั่วติดต่อกันเป็นเวลานาน ระหว่างการคั่ว น้ำมันหอม กรดและคาเฟอีนจะอ่อนลง ทำให้รสชาติของกาแฟเปลี่ยนไป ที่อุณหภูมิ 205 °C น้ำมันชนิดอื่นจะขยายขึ้น หนึ่งในนั้นคือ caffeol ซึ่งเกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 200 °C ซึ่งทำให้กาแฟมีกลิ่นและรสชาติ

                 สีของเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่ว สามารถแบ่งได้ด้วยสายตามนุษย์ออกเป็น อ่อน อ่อนปานกลาง ปานกลาง เข้มปานกลาง เข้มและเข้มมาก วิธีตรวจสอบที่มีความแน่นอนกว่าในการตรวจหาระดับของการคั่ว คือ การตรวจวัดแสงสะท้อนจากเมล็ดกาแฟหลังจากการคั่วแล้ว โดยอาศัยแสงจากแหล่งกำเนิดแสงที่ใกล้กับอินฟราเรดสเปคตรัม เครื่องวัดแสงอย่างประณีตใช้กระบวนการที่เรียกว่า สเปคโตรสโกปี เพื่อคืนจำนวนที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งจะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์กับระดับการคั่วของเมล็ดกาแฟหรือการพัฒนารสชาติของมัน เครื่องมือดังกล่าวจะถูกใช้ในการรับประกันคุณภาพของกาแฟในธุรกิจคั่วกาแฟเท่านั้น

                การคั่วให้เมล็ดกาแฟมีสีเข้มมักจะทำให้เมล็ดกาแฟมีผิวเรียบขึ้น เพราะว่าเมล็ดกาแฟเหลือใยอาหารอยู่น้อยและจะมีความหวานมากขึ้น การคั่วอ่อน ๆ เมล็ดกาแฟจะเหลือคาเฟอีนสะสมอยู่มาก ทำให้กาแฟมีรสชาติขมอ่อน ๆ และมีรสชาติเข้มขึ้นจากน้ำมันหอมและกรด ซึ่งจะสูญเสียไปหากคั่วเมล็ดกาแฟเป็นเวลานาน  ระหว่างการคั่วเมล็ดกาแฟ จะก่อให้เกิดกากเล็กน้อยจากผิวของเมล็ดกาแฟภายหลังการคั่วแล้ว  กากจะถูกกำจัดโดยการเคลื่อนไหวของอากาศ แม้ว่าในเมล็ดกาแฟคั่วที่มีสีเข้มกว่าจะมีการเติมกากเพื่อให้เมล็ดกาแฟมีน้ำมันชุ่ม  นอกจากนี้ ระหว่างกระบวนการอาจมีการกำจัดคาเฟอีนด้วย เมล็ดกาแฟจะถูกกำจัดคาเฟอีนขณะยังเขียวอยู่ มีหลากหลายวิธีในการกำจัดคาเฟอีนออกจากกาแฟ เช่น การแช่เมล็ดกาแฟในน้ำร้อนหรือการอบเมล็ดกาแฟ จากนั้นใช้ตัวทำละลายในการละลายน้ำมันที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ด้วย  การกำจัดคาเฟอีนมักจะทำโดยบริษัทผู้ประกอบการ จากนั้นคาเฟอีนที่ถูกแยกออกมามักจะถูกจำหน่ายให้กับภาคอุตสาหกรรมทางยา

การเก็บรักษา
               เมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วแล้วจำเป็นต้องได้รับการเก็บรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อคงความสดของรสชาติเอาไว้ เงื่อนไขในการคงความสด คือ ความกดอากาศและความเย็น อากาศ ความชื้น ความร้อนและแสงสว่างถือว่าเป็นปัจจัยทางธรรมชาติที่สำคัญในการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ[57]

                ถุงที่พับขึ้นนับว่าเป็นวิธีการทั่วไปที่ลูกค้ามักจะใช้ในการซื้อกาแฟนั้นไม่เหมาะสำหรับการเก็บรักษาในเวลานาน เนื่องจากอากาศสามารถเข้าไปในถุงได้ บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมควรจะเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทมีลิ้นทางเดียวเพื่อป้องกันอากาศไม่ให้เข้าไปในบรรจุภัณฑ์นั้น

การเตรียมการ
                เมล็ดกาแฟจะต้องถูกบดและชงเพื่อที่จะทำเป็นเครื่องดื่ม การบดเมล็ดกาแฟคั่วสามารถทำได้ที่เตาอบกาแฟ ในร้านขายของชำ หรือในบ้านก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นที่เตาอบกาแฟจากนั้นจะบรรจุและจัดจำหน่ายให้แก่ลูกค้า เมล็ดกาแฟสามารถบดได้หลายวิธี เครื่องบดเลื่อยใช้การหมุนในการตัดเมล็ดให้ขาดออกจากกัน เครื่องบดไฟฟ้าใช้การอัดกระแทกของใบมีดทื่อที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ไปจนถึงการใช้โกร่งบดยา

               ประเภทของการบดจะตั้งชื่อตามวิธีของการชงกาแฟที่ใช้กันโดยทั่วไป อย่างเช่น กาแฟตุรกีเป็นการบดที่ดีที่สุด  ในขณะที่เครื่องต้มกาแฟหรือหม้อต้มกาแฟเป็นการบดที่ลื่นไหลที่สุด ส่วนการบดแบบธรรมดาจะอยู่กึ่งกลางระหว่างการบดที่ดีที่สุดกับการบดที่ลื่นไหลที่สุดนี้ การบดแบบปานกลางมักจะใช้กับเครื่องชงกาแฟทั่วไปตามบ้าน

                กาแฟสามารถชงได้หลายวิธี การต้ม การจุ่มน้ำหรือการใช้ความดัน การต้มการแฟโดยใช้วิธีการต้มเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ยกตัวอย่าง กาแฟต้ม คือ กาแฟตุรกี โดยการตำเมล็ดกาแฟด้วยโกร่งบดยา จากนั้นนำผงกาแฟไปต้มกับน้ำจนเดือดในหม้อที่เรียกว่าเซสฟ์ หรือบริกิ ในภาษากรีก ซึ่งจะทำให้เกิดกาแฟที่มีรสเข้มและมีฟองเกาะอยู่บนผิวหน้าของกาแฟ

                เครื่องจักรอย่างเช่น เครื่องต้มกาแฟ หรือ เครื่องทำกาแฟอัตโนมัติ ต้มกาแฟโดยใช้แรงโน้มถ่วง น้ำร้อนจะหยดสู่ผงกาแฟซึ่งถูกยึดใว้ในที่กรองกาแฟที่ทำจากกระดาษหรือโลหะที่เจาะรู เพื่อให้น้ำค่อย ๆ ไหลซึมไปยังเมล็ดกาแฟ ขณะที่ดูดซึมน้ำมันไป แรงโน้มถ่วงทำให้ของเหลวสามารถผ่านขวดใส่น้ำหรือหม้อ ขณะที่ผงกาแฟยังคงเก็บไว้ในที่กรองกาแฟอยู่  ด้วยวิธีการดังกล่าว น้ำต้มเดือดจะถูกดันเข้าสู่ที่ว่างเหนือที่กรองกาแฟด้วยแรงดันไอน้ำที่เกิดจากการต้มน้ำ จากนั้นน้ำจะผ่านลงไปด้านล่างผ่านผงกาแฟโดยแรงโน้มถ่วง และกระบวนการจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะถูกหยุดโดยตัวจับเวลาภายใน  หรือถ้าโดยทั่วไปแล้วเครื่องบังคับความร้อนในการตัดตัวทำความร้อนเมื่ออุณหภูมิภายในหม้อสูงตามที่กำหนดแล้วแทน เครื่องบังคับความร้อนสามารถควบคุมอุณหภูมิของกาแฟให้คงที่ได้ เนื่องจากเมื่อกาแฟเย็นลง เครื่องบังคับความร้อนจะเปิดให้ตัวทำความร้อนทำงานอีกครั้ง แต่วิธีนี้จำเป็นต้องนำถาดรองผงกาแฟออกหลังจากการต้มครั้งแรกเสร็จแล้ว เพื่อป้องกันมิให้เกิดการต้มเพิ่มอีก ผู้ที่มีความพิถีพิถันจะรู้สึกว่าการต้มหลาย ๆ ครั้งจะทำให้กาแฟไม่ได้รสชาติที่ดีที่สุดของมัน

                      กาแฟยังสามารถต้มได้ด้วยวิธีการจุ้มในเครื่องต้มกาแฟ ผงกาแฟและน้ำร้อนจะถูกผสมรวมกันในเครื่องต้ม และใช้เวลาไม่กี่นาทีในการต้ม เครื่องแทงจะลดระดับลงเพื่อใช้แยกผงกาแฟ ซึ่งจะเหลืออยู่ที่ก้นของเครื่องต้ม เนื่องจากผงกาแฟสัมผัสกับน้ำโดยตรง น้ำมันกาแฟทั้งหมดจึงยังเหลืออยู่ในกาแฟนั้น ทำให้กาแฟมีรสชาติเข้มขึ้น และพบว่ามีตะกอนอยู่มากกว่ากาแฟซึ่งผลิตในเครื่องทำกาแฟอัตโนมัติ

                     ส่วนกาแฟเอสเพรสโซ่ใช้วิธีการพาสเจอร์ไรซ์ร้อน แต่ไม่ถึงกับเดือด โดยให้น้ำไหลผ่านผงกาแฟ ผลจากการต้มภายใต้แรงดันสูงประมาณ 9-10 หน่วยบรรยากาศ ทำให้เครื่องดื่มเอสเพรสโซ่มีรสแรงมาก คิดเป็น 10-15 เท่าของกาแฟที่ใช้วิธีแรงโน้มถ่วง และมีองค์ประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่ซับซ้อน กาแฟเอสเพรสโซ่ชั้นดีจะมีครีมสีน้ำตาลแดงลอยอยู่บนผิวหน้า ที่เรียกว่า "ครีมา" ส่วนเครื่องดื่ม "อเมริกาโน" ซึ่งได้ชื่อมาจากทหารอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่ทหารเหล่านั้นคิดว่ากาแฟเอสเพรสโซ่ในแบบของชาวยุโรปนั้นมีรสชาติแรงเกินไป จึงมีการทำให้เจือจางโดยใส่น้ำมากขึ้นกว่ากาแฟเอสเพรสโซ่

สรรพคุณ
สรรพคุณของเมล็ดกาแฟ และ ประโยชน์ของเมล็ดกาแฟ

                        ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น สิ่งที่ต้องทำเมื่อคุณไม่มีลูกอมดับกลิ่นปาก ก็คือเอาเมล็ดกาแฟมาอมเอาไว้ชั่วครู่ ลมหายใจคุณจะมีกลิ่นสะอาดและสดชื่นอีกครั้ง
กำจัดกลิ่นอาหาร ถ้ามือของคุณมีกลิ่นกระเทียม ปลาหรือกลิ่นอาหารแรงๆ เมล็ดกาแฟเล็กน้อยสามารถช่วย คุณกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ โดยเทเมล็ดกาแฟลงบนมือและถูมือเข้าด้วยกันสักครู่ น้ำมันจากเมล็ดกาแฟจะดูดซับ กลิ่นเหม็นๆ ออกไป จากนั้นก็ล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่ให้สะอาด
ยัดไส้เก้าอี้ เก้าอี้แบบที่เรียกว่าบีนแบ็ก หรือเก้าอี้ทรงถุงกลมๆ ที่มักยัดไส้ด้วยเม็ดถั่ว ที่จริงแล้วเมล็ดกาแฟก็สามารถ เอามาใช้ทดแทนกันได้เช่นกัน ลองหาเมล็ดกาแฟคั่วชนิดราคาถูกที่สุดเอามาใช้ ข้อดีอีกอย่างก็คือมันจะช่วยดูดซับ กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ให้ห้องได้ด้วย

ผลต่อสุขภาพ
                       จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้เปิดเผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับคุณสมบัติทางยา ผลที่ได้จากการศึกษานั้นมีความขัดแย้งกันในเรื่องของประโยชน์ต่อสุขภาพของกาแฟ และยังมีความขัดแย้งกันในด้านผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคกาแฟอีกด้วย

                      การดื่มกาแฟดูเหมือนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดขนาดของหน้าอก  และการได้รับปริมาณคาเฟอีนในระดับหนึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเต้านม  กาแฟดูเหมือนว่าจะลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหัวใจ โรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคตับแข็ง  และโรคเกาต์ จากผลของการศึกษาระยะยาวในปี ค.ศ. 2009 พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสม (ได้แก่ 3-5 ถ้วยต่อวัน) จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์  แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะไหลย้อนกลับและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ผลกระทบที่เกิดจากการดื่มกาแฟบางอย่างเป็นเพราะคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟ แต่ก็ใช่ว่าส่วนประกอบอย่างอื่นไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเสียทีเดียว  อย่างเช่น สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันอนุมูลอิสระภายในร่างกาย

                    กาแฟช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตัวระงับความเจ็บปวด โดยเฉพาะในการรักษาไมเกรน และยังสามารถกำจัดโรคหืดในผู้ป่วยบางคนได้ด้วย คุณประโยชน์บางอย่างอาจส่งผลต่อเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น มันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดการฆ่าตัวตายในผู้หญิง และช่วยป้องกันนิ่วและโรคถุงน้ำดีในผู้ชาย นอกจากนี้มันยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานในทั้งสองเพศ และลดเพียงประมาณ 30% ในผู้หญิง แต่ลดมากกว่า 50% ในผู้ชาย กาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคตับแข็งและป้องกันมะเร็งในปลายลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะ กาแฟสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในเซลล์ตับ ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของมะเร็งตับ (Inoue, 2005) และสุดท้ายกาแฟช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจอีกด้วย

                   ยังมีข้อดีอื่น ๆ ที่เป็นเหตุผลให้คนส่วนใหญ่นิยมดื่มกาแฟ เช่น กาแฟมีส่วนช่วยเพิ่มความจำระยะสั้น และเพิ่มไอคิว นอกจากนี้ยังช่วยเปลี่ยนระบบเมตาบอลิซึมให้มีสัดส่วนของลิพิดต่อคาร์โบไฮเดรตที่ถูกเผาผลาญสูงขึ้น ซึ่งช่วยลดอาการล้ากล้ามเนื้อของนักกีฬา

                   ทีมวิจัยของ University of Bari ประเทศอิตาลี พบว่าการดื่มกาแฟ 1-2 แก้วต่อวัน ช่วยป้องกันโรคหนังตากระตุกได้ และยังช่วยลดอัตราการกระตุกให้ช้าลงได้สำหรับผู้ป่วย[81]

                   นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เยเซอร์ ดอร์รี ได้เสนอว่ากลิ่นของกาแฟสามารถลดอาการอยากอาหารและสามารถฟื้นฟูประสาทรับกลิ่นได้ เขายังเสนอว่าผู้คนสามารถลดอาการอยากอาหารได้เมื่อพวกเขาได้สูดดมกลิ่นเมล็ดกาแฟเข้าไป และทฤษฎีดังกล่าวยังสามารถใช้ได้กับสัตว์ทดลองอีกด้วย

                    แต่ว่าคาเฟอีนก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ดื่มกาแฟมากเกินไป อย่างเช่น อาการ "ใจสั่น" ซึ่งเป็นอาการกระวนกระวายที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับคาเฟอีนมากเกินไป กาแฟยังเพิ่มความดันโลหิตให้กับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ผลการศึกษาเพิ่มเติมก็ยังแสดงให้เห็นว่ามันช่วยลดอัตราเสี่ยงโดยรวมในการเกิดโรคหัวใจด้วย กาแฟยังทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับในบางคน แต่ในทางกลับกันก็ช่วยให้บางคนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้มันยังอาจทำให้เกิดความกังวลและอาการหงุดหงิดง่ายให้กับบางคนที่ดื่มมากเกินไป และบางคนก็เกิดอาการทางประสาท ผลกระทบบางอย่างของกาแฟก็เกิดขึ้นกับเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น มันทำให้อาการป่วยเลวร้ายลงในกรณีของผู้ป่วยประเภท PMS และยังลดความสามารถในการมีบุตรของสตรี และยังอาจเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนของผู้หญิงหลังวัยหมดระดู และยังอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์หากแม่ดื่มตั้งแต่ 8 ถ้วยต่อวันขึ้นไป (48 ออนซ์ขึ้นไป)

                   ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ในประเทศเดนมาร์กได้มีการศึกษาสตรีจำนวน 18,478 คนซึ่งดื่มกาแฟเป็นปริมาณมากระหว่างตั้งครรภ์ พบว่ามันส่งผลให้อัตราเสี่ยงของการตายของทารกหลังคลอดเพิ่มขึ้นอย่างมาก (แต่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการตายในปีแรกของทารก) ในรายงานระบุว่า "ผลการศึกษาบ่งชี้ถึงผลกระทบจากการดื่มตั้งแต่ 4 ถึง 7 ถ้วยต่อวัน" คนที่ดื่ม 8 ถ้วยต่อวันขึ้นไป (48 ออนซ์ขึ้นไป) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 220% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่ม การศึกษานี้ยังไม่ได้มีการทำซ้ำให้แน่ใจ แต่ก็ทำให้แพทย์หลายๆ คนเพิ่มความระมัดระวังต่อการดื่มกาแฟมากเกินไปของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์

                    ผลการศึกษาตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2547 ใน American Journal of Clinical Nutrition [83] พยายามค้นหาว่าทำไมประโยชน์และโทษของกาแฟจึงได้ดูขัดกันเอง และได้ค้นพบว่าการดื่มกาแฟมีความเกี่ยวข้องกับการปรากฏชัดทางชีวเคมีของอาการอักเสบและเป็นผลกระทบที่รุนแรงของกาแฟต่อระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด ซึ่งเป็นตัวอธิบายว่าทำไมกาแฟจึงได้มีผลดีต่อหัวใจเมื่อดื่มไม่เกินวันละ 4 ถ้วยเท่านั้น (ไม่เกิน 20 ออนซ์)

                   คาเฟอีนจึงเปรียบเสมือนยาพิษหากเสพมากเกินไป การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณเข้มข้นอย่างยิ่ง อย่างเช่น เป็นเม็ดหรือเป็นผง ในปริมาณมาก ก็อาจทำให้ร่างกายอาเจียน หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

                    จากผลของการสำรวจพบว่า 10% ของผู้ตอบที่ดื่มกาแฟในปริมาณ 235 มิลลิกรัมต่อวันขึ้นไป รายงานว่าตนมีความทุกข์มากขึ้นเมื่อตนขาดคาเฟอีน ในขณะที่ผู้ตอบ 15% บอกว่าตนได้เลิกการบริโภคคาเฟอีนอย่างเด็ดขาด เนื่องจากกังวลถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสุขภาพของตน

ชา (Camellia sinensis)


                          ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้านของต้นชา (Camellia sinensis)  นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากน้ำ


                       ชาแบ่งหยาบ ๆ ได้ 6 ประเภท ได้แก่ ชาขาว ชาเหลือง ชาเขียว ชาอูหลง ชาดำ และชาผูเอ่อร์  ชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป
                       ชา ถูกจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูป หลังจากการเก็บเกี่ยว ใบของต้นชาจะถูกทิ้งให้สลด และ "บ่ม" โดย ทำให้เอนไซม์ในใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ใบชาจะมีสีเข้มขึ้น คลอโรฟิลล์ในใบชาจะแตกตัว กลายเป็นสารแทนนินที่ให้รสฝาด ต่อจากนั้น ต้องหยุดการทำงานของเอนไซม์ โดยใช้ความร้อน เพื่อให้หยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น โดยในชาดำ กระบวนการนี้จะดำเนินคู่กันไปกับการทำให้แห้ง
                       หากไม่ระมัดระวังในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิระหว่างกระบวนการผลิต ใบชาอาจขึ้นรา เกิดปฏิกิริยาสร้างสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งขึ้นได้ ทำให้รสชาติเสียไป และอันตรายต่อการบริโภค

                       ชา สามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ดังนี้ต่อไปนี้
ชาขาว: ตูมชาและยอดอ่อนชาที่ถูกทิ้งให้สลด แต่ไม่ได้บ่ม เมื่อชงชาแล้วจะได้ครื่องดื่มที่มีสีเหลืองอ่อน
ชาเหลือง: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลด และไม่ได้บ่ม แต่ทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง
ชาเขียว: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลดและไม่ได้บ่ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีเขียวอ่อน
ชาแดง: ใบของชาเขียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้เป็นใบชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีน้ำตาลแดง
ชาอูหลง: ใบชาที่ทิ้งให้สลด นวด และบ่มเล็กน้อย เรียกได้ว่าเป็นชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำ
ชาดำ: ใบชาที่ทิ้งให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ เครื่องดื่มที่ได้มีสีแดงเข้มจนถึงสีดำ
ชาหมัก: ชาเขียวที่ผ่านกระบวนการหมักนานนับปี

                     นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์พบว่า การดื่มน้ำชา ช่วยให้สมองสดชื่น ป้องกันโรคอัลไซเมอร์  นอกจากนั้น ชาบางชนิด เช่น ชาอัญชัน ชาใบหม่อน เจี่ยวกู้หลาน และชาหญ้าหวาน ยังมีประโยชน์ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย ช่วยยับยั้งโรคมะเร็ง และโรคเบาหวานอีกด้วย

ประโยชน์ ของชา

  1. ใบนำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน ช่วยกระตุ้นทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วงนอน ทำให้ตาสว่าง กระตุ้นให้หายเหนื่อย (ใบ)  
  2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ หน้ามืดตามัว (ใบ) 
  3. ใบชานำมานึ่งแล้วหมักกับเกลือ ทำเป็นคำๆ ใช้อม จะช่วยทำให้คอชุ่ม แก้อาการกระหายน้ำได้ดีมาก (ใบ) 
  4. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ใบ) 
  5. ใบชามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น (ใบ) 
  6. รากชามีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น แก้โรคหัวใจบวมน้ำ (ราก) 
  7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
  8. กิ่งและใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืด (ใบ,กิ่ง) 
  9. ใบมีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมานใช้รักษาและลดอาการท้องร่วง (ใบ) 
  10. ใบใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ) 
  11. ใบแห้ง ใช้ชงใส่น้ำตาล กินเป็นยารักษาอาการปวดท้อง (ใบ) 
  12. รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก) 
  13. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ) 
  14. ช่วยขับปัสสาวะ (ราก,ใบ) 
  15. ช่วยแก้ตับอักเสบ (ราก) 
  16. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษ (ใบ) 
  17. กิ่งและใบ นำมาชงแก่ๆ ใช้รักษาอาการเป็นพิษของยาอันตรายที่เป็นอัลคาลอยด์ต่างๆ (กิ่งและใบ)
  18. รากมีสรรพคุณช่วยต้านเชื้อ แก้ปากเป็นแผล (ราก) 
  19. กิ่งมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล (กิ่ง) 
  20. ใบใช้เป็นชะล้างแผล สมานแผล แก้บวม (ใบ) 
  21. ราก เมล็ดและน้ำมันใช้เป็นยาภายนอก แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้แผลเปื่อย (ราก,เมล็ดและน้ำมัน)
  22. กากใบชาใช้เป็นยาพอกแผล สำหรับแผลที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก (กากใบชา) 
  23. ส่วนกิ่งและใบใช้ทำเป็นน้ำยาสมานของกรดแทนนิน ใส่แผลไหม้พอง (กิ่งและใบ)  
  24. ราก เมล็ดและน้ำมัน ใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน (ราก,เมล็ดและน้ำมัน) 
  25. ส่วนใบก็มีสรรพคุณรักษากลากเกลื้อนได้เช่นกัน (ใบ) 
  26. ใบชามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี (ใบ)


                     ข้อห้ามสำหรับผู้ดื่มชา  สตรีมีครรภ์ เด็กที่อายุน้อยกว่า3ขวบ หรือ กำลังมีประจำเดือน ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากชา (โดยเฉพาะคุณภาพต่ำ) จะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ เช่นธาตุเหล็ก ซึ่งจะทำให้ ผู้นั้นขาดสารอาหารบางชนิดได้
                     ผู้ป่วยไม่ควรดื่มชา เนื่องจากยาที่กินเข้าไป อาจทำปฏิกิริยากับชานั้นๆได้
ไม่ควรดื่มชา ใกล้ๆเวลาอาหาร ควรดื่มหลังอาหารไป2-3ชั่วโมง เนื่องจากจะไปรวมตัวกับสารอาหารสำคัญได้

เสาวรส (Passion Fruit)


                 เสาวรส หรือ กะทกรกฝรั่ง หรือ กะทกรกสีดา หรือ กะทกรกยักษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora edulis, อังกฤษ: Passionfruit, สเปน: Maracujá)  เป็นไม้เถาเลื้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ผลเป็นรูปกลม ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ ทั้งสีม่วง เหลือง ส้ม ชั้นในสุดของเปลือกเป็นเยื่อสีขาวที่เรียกรก ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก อยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นถุง กลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสเปรี้ยวจัด บางพันธุ์มีรสอมหวาน

การใช้ประโยชน์
                ผลสุกของเสาวรสนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์ หรือเติมลงในน้ำผลไม้ชนิดอื่นเพื่อเพิ่มกลิ่น  ในทวีปอเมริกาใต้รับประทานเปลือกของเสาวรสสุก หรือนำไปปั่นรวมกับน้ำตาลและน้ำเสาวรสเป็นเครื่องดื่มที่เรียก Refresco นำเนื้อเสาวรสไปทำขนมได้หลายชนิดทั้งเค้ก ไอศกรีม แยม เยลลี ยอดเสาวรสนำไปแกงหรือกินกับบบน้ำพริกลล เมล็ดนำไปสกัดน้ำมันพืช ทำเนยเทียม เปลือกนำไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้งเป็นอาหารสัตว์ เปลือกเสาวรสที่อ่อนบางพันธุ์มีสารประกอบไซยาไนต์เล็กน้อยโดยเฉพาะผลสีม่วง แต่เมื่อนำเปลือกมาทำแยมด้วยความร้อนสูง สารประกอบไซยาไนต์จะหายไป

การใช้ประโยชน์ในประเทศต่างๆมีดังนี้
บราซิล มูสเสาวรสเป็นของหวานที่พบได้ทั่วไป เมล็ดเสาวรสนิยมใช้แต่งหน้าเค้ก ในการปรุงCaipirinha นิยมใช้เสาวรสแทนมะนาว
โคลอมเบีย เป็นผลไม้ที่สำคัญในการทำน้ำผลไม้และขนม เรียกเสาวรสว่า "Maracuyá"
สาธารณรัฐโดมินิกันเรียกเสาวรสว่า chinola ใช้ทำน้ำผลไม้และใช้แต่งรสไซรับ กินเป็นผลไม้สดกับน้ำตาล
ฮาวาย ทั้งเสาวรสสีม่วงและสีเหลืองใช้กินเป็นผลไม้ น้ำเชื่อมรสเสาวรสใช้แต่งหน้าน้ำแข็ง ไอศกรีม และใช้เป็นส่วนผสมในเค้ก คุกกี้ แยม เยลลี่ เนย
อินโดนีเซีย มีเสาวรสสองชนิด คือชนิดสีขาวกับสีเหลือง สีขาวกินเป็นผลไม้ สีเหลืองใช้ทำน้ำผลไม้ และเคียวกับน้ำตาลเป็นไซรับ
นิวซีแลนด์ และ ออสเตรเลีย นิยมกินผลสดเป็นอาหารเช้าในช่วงฤดูร้อน เช่นทำฟรุตสลัด เสาวรสใช้ทำขนมหลายอย่าง เช่นแต่งหน้าเค้ก pavlova ไอศกรีม ใช้แต่งรสชีสเค้ก และมีน้ำอัดลมรสเสาวรสในออสเตรเลีย
ปารากวัย ใช้ทำน้ำผลไม้ ใช้ผสมในเค้กมูส ชีสเค้ก ใช้แต่งรสโยเกิร์ตและคอกเทล
เม็กซิโก ใช้ทำน้ำผลไม้หรือรับประทานผลกับพริกป่นและน้ำเลมอน
เปอร์โตริโก เรียกเสาวรสว่า "Parcha" นิยมใช้เป็นยาลดความดัน  ใช้ทำน้ำผลไม้ ไอศกรีมหรือเพสตรี
เปรูใช้เสาวรสทำขนมหลายชนิดรวมทั้งชีสเค้ก ใช้ทำน้ำผลไม้ ผสมใน ceviche และคอกเทล
ฟิลิปปินส์รับประทานเป็นผลไม้ มีขายทั่วไปแต่ไม่เป็นที่นิยมมาก
แอฟริกาใต้ เสาวรสรู้จักกันในชื่อ Granadilla ใช้แต่งรสโยเกิร์ต น้ำอัดลม กินเป็นผลไม้หรือใช้แต่งหน้าเค้ก
ศรีลังกา นิยมดื่มน้ำเสาวรสเป็นน้ำผลไม้ [5]
สหรัฐอเมริกา ใช้ผสมในน้ำผลไม้ผสม
เวียดนาม รับประทานเสาวรสปั่นกับน้ำผึ้งและน้ำแข็ง

ผลเสาวรสสุกมีบีตา-แคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง น้ำเสาวรสมีวิตามินซีมากและเหมาะสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผลสีเหลืองใช้ในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ ส่วนผลสีม่วงนิยมบริโภคสด เสาวรสมีไลโคพีน ในชั้นเพอริคาร์บ


  1. เสาวรส ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส 
  2. ช่วยในการชะลอวัย ชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ 
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง 
  4. ช่วยในการบำรุงสายตา เนื่องจากมีวิตามินเอรวมอยู่ด้วย 
  5. น้ำเสาวรสช่วยให้นอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น 
  6. น้ำเสาวรสช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย มีวิตามินบี2 ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม 
  7. มีแคลเซียมซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมและกระดูกหัก 
  8. มีโพแทสเซียมสูงสูง ที่ช่วยให้มีสติปัญญา จิตใจร่าเริงแจ่มใส ด้วยการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงที่สมอง 
  9. มีแมกนีเซียม ซึ่งช่วยในการเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน 
  10. มีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งช่วยส่งเสริมสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง นิยมนำมาดื่มเป็นน้ำผลไม้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้รวม ใช้ทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น 


สำหรับวิธีทำน้ําเสาวรส อย่างแรกให้เตรียม เสาวรสที่สุกแล้ว 3 ลูก / น้ำเชื่อมครึ่งถ้วย / เกลือป่นหนึ่งช้อนโต๊ะ / น้ำต้มสุกแช่เย็นหนึ่งถ้วย
หลังจากนั้นนำเสาวรสไปล้างให้สะอาดทั้งเปลือก แล้วนำมาผ่าครึ่งตามขวาง แล้วนำช้อนตักเมล็ดเนื้อเสาวรส น้ำออกให้หมด แล้วนำมาปั่นกับน้ำต้มสุกจนละเอียด แล้วกรองกากและเมล็ดออกด้วยการใช้ผ้าขาวบางหรือกระชอน
หลังจากนั้นนำน้ำเสาวรสที่กรองเรียบร้อยแล้วลงในเครื่องปั่น ใส่น้ำเชื่อม เกลือป่น นำแข็งตามลงไปปั่น เสร็จแล้วก็จะได้น้ำเสาวรสฝีมือของเราแล้ว นำมาใช้แต่งกลิ่นหรือรสชาติในโยเกิร์ต น้ำอัดลม เป็นต้น

เนื้อเสาวรสนำไปทำขนมได้หลายชนิด เช่น เค้ก แยม เยลลี่ ไอศกรีม เป็นต้น
ใช้นำไปประกอบของหวาน เช่น นำเมล็ดเสาวรสมาใช้แต่งหน้าเค้ก
ใช้นำมาประกอบอาหาร เช่น การนำยอดเสาวรสไปแกงหรือกินกับน้ำพริก

เมล็ดของเสาวรสสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมันพืชได้ ใช้ทำเนยเทียม จากเมล็ดเสาวรส
ใช้เป็นอาหารสัตว์ ด้วยการนำเปลือกไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้ง
เปลือกเสาวรสสามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้
ใช้ทำเป็นน้ำมันนวดผ่อนคลาย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยผ่อนคลายได้ดี
ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางเช่น ผลิตภัณฑ์กันแดด ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์รักษาสิว เป็นต้น
ช่วยในการสมานผิวรักษาเนื้อเยื่อผิวหนัง ช่วยปรับสมดุลในร่างกายและลดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน

ที่เปอร์โตริโก นิยมนำเสาวรสมาใช้ในการลดความดันโลหิต ช่วยบรรเทาอาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยในการฟื้นฟูตับและไตให้มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยในการกำจัดสารพิษในเลือด ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยในการบำรุงปอด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ใบสดนำมาใช้พอกแก้หิดได้ ดอกใช้ขับเสมหะ ช่วยแก้ไอได้ เมล็ดมีสารที่ทำหน้ายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี

โภชนาการของเสาวรส ต่อ 100 กรัม
  1. พลังงาน 97 กิโลแคลอรี่ 
  2. คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม 
  3. น้ำตาล 11.2 กรัม 
  4. เส้นใย 10.4 กรัม 
  5. ไขมัน 0.7 กรัม 
  6. โปรตีน 2.2 กรัม 
  7. วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม 8% 
  8. เบต้าแคโรทีน 734 ไมโครกรัม 7% 
  9. วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม 11% 
  10. วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม 10% 
  11. วิตามินบี6 0.1 มิลลิกรัม 8% 
  12. วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม 4% 
  13. โคลีน 7.6 มิลลิกรัม 2% 
  14. วิตามินซี 30 มิลลิกรัม 36% 
  15. วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม 1% 
  16. ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม 1% 
  17. ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม 12% 
  18. ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม 8% 
  19. ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม 10% 
  20. โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม 7% 
  21. ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม 2% 
  22. ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database



สตรอว์เบอร์รี (strawberry)


                  สตรอว์เบอร์รี (อังกฤษ: strawberry)   เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก


สารอาหาร
            สตรอว์เบอร์รีวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี
            มีกรดโฟลิก (Folic acid)
            มีเส้นใยอาหาร (Fiber)
            มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

รูปลักษณะ

         เป็นพืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มีเสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


  • พื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป
  • พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
  • พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์

ฤดูกาล


  • เริ่มปลูกในช่วงเดือนปลายสิงหาคม ถึง ปลายตุลาคม
  • เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย


  • พันธุ์พระราชทาน 16
  • พันธุ์พระราชทาน 20
  • พันธุ์พระราชทาน 50 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
  • พันธุ์พระราชทาน 70 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักต่อผล 11.5 - 13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6° Brix
  • พันธุ์พระราชทาน 72 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 น้ำหนักต่อผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่าคือ 9.3° Brix มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
  • พันธุ์พระราชทาน 80 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก ตั้งแต่ปีพ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา) เป็นสายพันธุ์ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ Royal Queen
  • พันธุ์ 329 (Yale) เป็นพันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูก เป็นพันธุ์ที่มาจากประเทศอิสราเอล


ลิ้นจี่ (Lychee)


                  ลิ้นจี่ (Lychee)  ส่วนที่รับประทานได้ คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 276 kJ (66 kcal)
คาร์โบไฮเดรต 16.5 g
ใยอาหาร 1.3 g
ไขมัน 0.4 g
โปรตีน 0.8 g
วิตามิน
วิตามินซี (87%) 72 mg
โลหะรอง
แคลเซียม (1%) 5 mg
แมกนีเซียม (3%) 10 mg
ฟอสฟอรัส (4%) 31 mg
ส่วนที่รับประทานได้เท่ากับ 60% ของน้ำหนักรวม
เปลือกผลของลิ้นจี่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

                    จากการศึกษาพบว่าในเนื้อลิ้นจี่นอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญกับร่างกายแล้ว ก็ยังมีกรดไขมันที่สำคัญกับร่างกายอีกด้วย เช่น กรดปาล์มมิติก (Plamitic Acid) 12%, กรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) 11%, กรดโอเลอิก (Oleic Acid) 27% ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ

                          ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE (ซึ่งก็คือวงศ์เดียวกับเงาะและลำไยนั้น เอง) ลิ้นจี่นั้นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนจึงถือว่า เป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่าย ในรูปของผลไม้สดและผลไม้แปรรูป ปัจจุบันนี้ลิ้นจี่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายขึ้นเรื่อยๆจาก สายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว

                         ประโยชน์ของลิ้นจี่
  1. ผลรับประทานเป็นยาบุงร่างกาย 
  2. ประโยชน์ของลิ้นจี่ นำมาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มช่วยแก้กระหาย ให้รสชาติหวานชื่นใจ 
  3. ช่วยให้พลังซี่ขับเลื่อน (เมล็ด) 
  4. มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างสูง (สารสกัดจากเปลือก) 
  5. ลิ้นจี่ต้านมะเร็ง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม (สารสกัดเพอริคาร์พของลิ้นจี่) 
  6. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ราก,เปลือกลำต้น) 
  7. ลิ้นจี่สรรพคุณ ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง 
  8. เปลือกของผลใช้ทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการหวัด (ชาจากเปลือก) 
  9. ช่วยแก้อาการคัดจมูก สรรพคุณลิ้นจี่ 
  10. ช่วยป้องกันการเกิดและช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน 
  11. ช่วยแก้การติดเชื้อในลำคอ (ชาจากเปลือก) 
  12. ช่วยบำรุงระบบการย่อยอาหาร 
  13. ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ประโยชน์ลิ้นจี่ 
  14. ช่วยบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร 
  15. ช่วยรักษาอาการท้องเดิน สรรพคุณของลิ้นจี่
  16. ช่วยแก้อาการท้องเสียชนิดไม่รุนแรง (ชาจากเปลือก) 
  17. ประโยชน์ของผลไม้ลิ้นจี่ ช่วยปกป้องและรักษาตับ (สารสกัดของผลลิ้นจี่) 
  18. มีส่วนช่วยลดขนาดเนื้องอก (งานวิจัยในประเทศจีน แต่ไม่ได้ระบุไว้แน่ชัดว่าใช้ส่วนใดของลิ้นจี่) 
  19. ช่วยรักษาโรคจากการติดเชื้อไวรัส (ชาจากเปลือก) 
  20. สรรพคุณของลิ้นจี่ ช่วยรักษาอาการปวดท้อง (เมล็ด) ช่วยรักษาอาการปวดไส้เลื่อน (เมล็ด) 
  21. ช่วยรักษาอาการปวดบวมอัณฑะ (เมล็ด) 
  22. ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน อัณฑะหย่อนยาน ด้วยการนำเมล็ดไปตากแห้งแล้วนำไปคั่วกับไฟอ่อนๆ จนสุกเกรียม แล้วนำมาบดเป็นผง นำเอาผงที่ได้มาประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะต้มกับน้ำ หรือตัก 1 ช้อนแล้วนำมาชงกับน้ำร้อน ดื่มวันละ 3-4 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 20 วัน (เมล็ด) 
  23. ลิ้นจี่ประโยชน์ ช่วยป้องกันการเกิดโรคเหน็บชา (วิตามินบี1) 
  24. รากลิ้นจี่หรือเปลือกของลำต้น ใช้แก้อาการติดเชื้อไวรัสและอีสุกอีใสได้ (ราก,เปลือกลำต้น) 
  25. ช่วยลดอาการปวดต่างๆ (เมล็ด) 
  26. ลิ้นจี่เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของบ้านเรา โดยมีการนำไปแปรรูปเป็น ผลไม้กระป๋อง และอบแห้งเพื่อส่งออก



น้ำผึ้ง (Honey)


สรรพคุณของน้ำผึ้ง-   น้ำผึ้ง (Honey) คือ ผลผลิตของน้ำหวานจากดอกไม้ และจากแหล่งอื่นๆ ที่ผึ้งงานนำมาเก็บสะสมไว้ โดยผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีแล้วสะสมไว้ในรังผึ้ง ซึ่งปกติแล้วน้ำผึ้งจะมีกลิ่น รส สี ที่ต่างกันออกไปตามชนิดของพืชนั้นๆ จึงทำให้สามารถระบุชนิดของน้ำผึ้งตามชนิดของพืชนั้นได้ๆ เช่น น้ำผึ้งจากดอกส้ม ดอกลำไย ดอกลิ้นจี่ ก็จะแตกต่างกันออกไปซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารหรือเครื่องดื่มนานาชนิด
                                ประโยชน์ของน้ำผึ้ง นั้นหลากหลายเพราะน้ำผึ้งมีส่วนผสมของน้ำตาลและสารประกอบอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นฟรุกโทสกับกลูโคส และมีวิตามินและแร่ธาตุผสมอยู่ด้วย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุทองแดง ธาตุสังกะสี เป็นต้น สำหรับสารประกอบอื่นๆที่มีอยู่ในปริมาณเพียงน้อยนิดนั้นจะเป็นสารที่ทำหน้าที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นหลัก

                                      ประโยชน์น้ำผึ้ง
1. ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย
2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
3. ช่วยลดและป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ดูมีน้ำมีนวลเป็นธรรมชาติ
พอกหน้าด้วยน้ำผึ้งช่วยบำรุงผิวหน้าให้ดูอ่อนเยาว์ ชุ่มชื่นและนุ่มนวล หลังล้างหน้าเสร็จให้นำกล้วยหอมครึ่งลูก นำมาบดผสมรวมกับน้ำผึ้งแล้วยำมาทาหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
5. ช่วยบำรุงรักษาผิวหน้าที่แห้งแตกลอกเป็นขุย ด้วยการนำไข่แดง 1 ฟองผสมกับน้ำผึ้งผสม 1 ช้อน คนให้เข้ากันแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก
6. ช่วยบำรุงสมอง ช่วยในเรื่องของความจำ
7. ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV และช่วยเสริมสร้างเซลล์ผิวหนัง
8. ช่วยบำรุงเส้นผมให้นุ่มสวยเงางาม หลังสระผมเสร็จให้นำน้ำผึ้งผสมกับน้ำมะกอกอย่างละ 3 ช้อนโต๊ะ นำมาชโลมให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วล้างออก
9. ช่วยบำรุงเสียงให้ใส ลดอาการเจ็บคอ
10. ช่วยลดสิวเสี้ยน สิวอุดตันบนใบหน้า หลังล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นเสร็จแล้ว ให้นำกล้วยหอมครึ่งลูก นำมาบดผสมรวมกับน้ำผึ้งแล้วยำมาทาหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
นิยมนำมาใช้ผสมในเครื่องต่างๆ เช่น นม ชา กาแฟ โยเกิร์ต น้ำมะนาว หรือแม้กระทั่งเบียร์หรือไวน์
นำมาใช้เป็นส่วนผสมในขนมหวานต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์ธัญญพืชต่างๆ
ใช้น้ำผึ้งแทนสารกันบูดในน้ำสลัด ซึ่งจะทำให้น้ำสลัดไม่เสียและเก็บได้นานถึง 9 เดือน
น้ำผึ้งสามารถนำแปรรูปทำผลิตภัณฑ์ต่างๆได้อย่างหลากหลายเช่น มาส์กหน้า สบู่ เจลล้างหน้า สครับ เป็นต้น

น้ำผึ้งเป็นยาอายุวัฒนะ
11. ช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงต้านทานโรคต่างๆได้ดี
12. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตในวัยเด็ก
13. ช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย
14. ช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียจากการทำงานหรือเล่นกีฬา
15. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้ป่วยในระยะพักฟื้น หรือผู้สูงอายุ
16. ช่วยบรรเทาอาการของโรคต่างๆให้ดีขึ้น
17. ช่วยในควบคุมน้ำหนักและลดความอ้วน
18. ช่วยบำรุงเลือดในร่างกาย ด้วยการใช้น้ำผึ้งครึ่งช้อนโต๊ะใส่แก้ว แล้วบีบมะนาว ซีก ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วเติมน้ำร้อนดื่ม
19. ช่วยรักษาอาการหวัดให้หายเร็วขึ้น
น้ำผึ้งสามารถบรรเทาอาการไอจากหวัดในเด็กได้ดีกว่ายาแก้ไอ
20. ช่วยรักษาอาการเมาค้าง
21. ช่วยปรับสมดุลในร่างกายให้คงที่
น้ำผึ้งมีฤทธิ์ยาระงับประสาทอ่อนๆ จึงช่วยลดอาการหงุดหงิด ความกังวลได้
22. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ และช่วยทำให้หลับสบายยิ่งขึ้น
23. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้น้ำผึ้งและงาดำอย่างละ 50 กรัม โดยนำงาดำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำผึ้ง ชงกับน้ำร้อนดื่ม
24. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้สาลี่หอมจำนวน 5 ลูก น้ำผึ้ง 250 กรัม โดยปอกลูกสาลี่แล้วนำมาตำให้ละเอียด นำไปคลุกกับน้ำผึ้งแล้วต้มจนเหนียว แล้วนำมาผสมกับน้ำกิน
25. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง เพราะน้ำผึ้งมีส่วนผสมของธาตุเหล็กซึ่งช่วยในการเพิ่มเม็ดเลือดแดง
26. ช่วยบำรุงหัวใจ ขับชีพจร และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
27. ช่วยบำรุงและรักษาโรคตับ
28. ช่วยระงับความร้อนในร่างกาย
29. ช่วยรักษาอาการตาอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น กระจกตาอักเสบ เยื่อตาอักเสบ เป็นต้น
30. ช่วยบรรเทาอาการไอ หลอดลมอักเสบมีเสมหะ ด้วยการชงดื่มกับน้ำมะนาว
น้ำผึ้งช่วยลดกรดในกระเพาะ ช่วยในการย่อยอาหาร เพราะน้ำผึ้งจะถูกดูดซึมทันทีเมื่อถึงลำไส้ ซึ่งต่างจากน้ำตาลชนิดอื่น

31. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ
32. ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสียอย่างรุนแรง
33. ช่วยแก้อาการท้องเดิน และช่วยบำรุงลำไส้ที่อักเสบให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
34. ช่วยแก้ปัญหาช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแคนดิดา (Candida) ได้ดีพอๆกับยาฆ่าเชื้อแผนปัจจุบัน
35. ช่วยแก้อาการเด็กปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ เพราะช่วยดูดความชื้นและช่วยอุ้มน้ำไว้
36. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการนำกระเทียมผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานวันละ 3 ครั้ง
37. ช่วยป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบ ด้วยการใช้น้ำส้มนำมาผสมกับแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนชาลงในน้ำร้อน แล้วเติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ชงดื่มวันละสองครั้ง
38. ช่วยแก้อาการตะคริว หรือป้องกันการเป็นตะคริว
39. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการรับประทานกล้วยน้ำว้าสุกจิ้มกับน้ำผึ้ง ช่วยลดอาการท้องผูกลงได้
40. ช่วยลดการอักเสบของบาดแผล
41. ช่วยป้องกันการติดเชื้อของบาดแผลและช่วยให้แผลหายเร็ว
42. ช่วยรักษาโรคฮ่องกงฟุต และกลาก เกลื้อน
43. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและต่อต้านจุลินทรีย์
44. ช่วยแก้ปัญหาเด็กแหวะนม โดยใช้น้ำผึ้งผสมกับนมดื่ม
45. ใช้เป็นน้ำกระสายยา

น้ำผึ้ง (อังกฤษHoney) เป็นอาหารหวานที่ผึ้งผลิตโดยใช้น้ำต้อยจากดอกไม้ น้ำผึ้งมักหมายถึงชนิดที่ผลิตโดยผึ้งน้ำหวานในสายพันธุ์ Apisเนื่องจาก เป็นผึงเก็บน้ำหวานให้คุณภาพสูง และสามารถเลี้ยงระบบกล่องได้ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำต้อยที่มา และมีน้ำผึ้งหลายชนิดและเกรดที่สามารถหาได้ นอกจากนี้ ยังมีภูมิปัญญาที่ใช้น้ำผึ้งในการรักษาอาการเจ็บป่วย

กระบวนการผลิต

ผึ้งน้ำหวานเปลี่ยนน้ำต้อยเป็นน้ำผึ้งด้วยขบวนการการขย้อน และเก็บไว้เป็นแหล่งอาหารหลักในรังผึ้ง honeycomb โดยผึงจะสร้าง ขี้ผึ้งจากเศษเกสรดอกไม้และน้ำเมือก โดยจะเก็บของเหลว จากการขย้อน]ลงใน ฐานหกเหลียม และปิดไว้ด้วย ขี้ผึ้งอ่อน


คุณค่าทางโภชนาการ

น้ำผึ้งได้ความหวานจากมอโนแซ็กคาไรด์ ฟรุกโทสและกลูโคส และมีความหวานประมาณเทียบได้กับน้ำตาลเม็ด น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางเคมีที่ดึงดูดในการอบ และมีรสชาติพิเศษซึ่งทำให้บางคนชอบน้ำผึ้งมากกว่าน้ำตาลและสารให้ความหวานอื่น ๆ จุลินทรีย์ส่วนมากไม่เจริญเติบโตในน้ำผึ้งเพราะมีค่าแอกติวิตีของน้ำต่ำที่ 0.6 อย่างไรก็ดี บางครั้งน้ำผึ้งก็มีเอนโดสปอร์ในระยะพักตัวของแบคทีเรีย Clostridium botulinum ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารก เพราะเอนโดสปอร์สามารถแปลงเป็นแบคทีเรียที่ผลิตชีวพิษในทางเดินอาหารที่ยังไม่เจริญเต็มที่ของทารก ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บป่วยและอาจถึงแก่ชีวิต

ส่วนประกอบทางเคมี

น้ำผึ้งเป็นสารผสมของน้ำตาลกับสารประกอบอื่น น้ำผึ้งส่วนใหญ่เป็นฟรุกโทส (ราว 38.5%) และกลูโคส (ราว 31.0%) ทำให้น้ำผึ้งคล้ายกับน้ำเชื่อมน้ำตาลอินเวิร์ท (inverted sugar syrup) ที่ผลิตเชิงสังเคราะห์ ซึ่งมีปริมาณฟรุกโทส 48% กลูโคส 47% และซูโครส 5% คาร์โบไฮเดรตที่เหลือในน้ำผึ้งมีมอลโทสและคาร์โบไฮเดรตซับซ้อนอื่น ๆ เช่นเดียวกับสารให้ความหวานที่บำรุงสุขภาพทุกชนิด น้ำผึ้งส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลและมีวิตามินหรือแร่ธาตุอยู่เล็กน้อย น้ำผึ้งยังมีสารประกอบหลายชนิดในปริมาณน้อยซึ่งคาดกันว่าทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงไครซิน พิโนแบค์ซิน วิตามินซี คาตาเลสและพิโนเซมบริน องค์ประกอบที่เจาะจงของน้ำผึ้งแต่ละกลุ่มนั้นขึ้นอยู่กับดอกไม้ที่ผึ้งใช้ผลิตน้ำผึ้ง
ผลการวิเคราะห์น้ำผึ้งตามแบบ มีสารดังต่อไปนี้
  • ฟรุกโทส 38.2%
  • กลูโคส 31.3%
  • มอลโทส 7.1%
  • ซูโครส 1.3%
  • น้ำ 17.2%
  • น้ำตาลที่สูงกว่า 1.5%
  • เถ้า 0.2%
  • อื่น ๆ /ไม่กำหนด 3.2%

ค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ระหว่าง 31 ถึง 78 แล้วแต่ชนิด น้ำผึ้งมีความหนาแน่นราว 1.36 กิโลกรัมต่อลิตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 36%)

โภชนาการทางการรักษา


ในประเทศไทย

น้ำผึ้ง ตามแบบแผนการรักษา ตำรับยาโบราณของไทย ได้มีการสืบทอดกันมา ตามสูตรยาสมุนไพรโบราณ มักนำมาใช้แต่งกลิ่นเจือรส ชูความง่ายในการรับประทาน เพราะส่วนมากสมุนไพรมักมีรสฝาดและขม โดยน้ำผึ้งใช้ทั้งแต่รส ขึ้นรูป และเป็นส่วนประกบในยาแผนโบราณหลายชนิด ตามสรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ปวดหลัง ปวดเอว ทำให้แห้ง ใช้ทำยาอายุวัฒนะ
  • แต่งรส น้ำผึ้งมีรสหวานฝาด ร้อนเล็กน้อยเราใช้น้ำผึ้งแต่งรสยาบางชนิด เช่น ยาแก้ไข้ที่มีรสขมมาก จนคนไข้กินไม่ได้ เราต้องใช้น้ำผึ้งผสมใและช่วยชูกำลัง
  • ปรุงยา เป็นส่วนประกอบในการนำไปใช้ โดยน้ำผึ้งมาผสมกับยาผงให้เหนียว เพื่อปั้นเป็นลูกกลอน แต่ผู้ปรุงยาควรนำน้ำผึ้งไปเคี่ยวให้เดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรค มิฉะนั้น ยาลูกกลอนจะขึ้นราภายหลัง
ตามความเชือโบราณ น้ำผึ้งเดือน 5 เป็นน้ำผึ้งที่ดีที่สุด เนื่องด้วยอากาศที่แห้ง จึ้งทำให้น้ำผึ้งมีความเข้มข้นสูง

ตามหลักการแพทย์แผนไทยแล้ว น้ำผึ้งมีประโยชน์มากมายก็จริง แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย แนะนำว่าไม่ควรกินน้ำผึ้งแบบเข้มข้นโดยไม่ผสมอะไรเลย เช่น คนที่ดีพิการ คือ มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง นอนสะดุ้งผวา สอง เสมหะพิการ คือมีเสมหะมากและมีภาวะโรคปอดแทรก สาม คนที่น้ำเหลืองเสีย มีฝีพุพอง ตุ่มหนอง หรือโรคครุฑราชต่าง ๆ

ในประเทศจีน

ภาษาจีน แต้จิ๋ว เรียกน้ำผึ้งว่า "พังบิ๊ก" เป็นยาบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะบำรุงลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ลดความร้อนในร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย และยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย น้ำผึ้งมีรสชาติหวาน ชุ่มคอ สามารถใช้ได้ทั้งเดี่ยว และนำไปเป็นส่วนผสมของยา กรณีที่ใช้เดี่ยวโดยมากใช้ในกรณีลำไส้ไม่ดี

ถ้าร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว กินน้ำผึ้งประจำจะไปช่วยเคลือบลำไส้ ช่วยระบบขับถ่าย แต่สำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูกบ่อย ๆ กากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้จะแข็งตัว ถ้าปล่อยให้ท้องผูกนาน ๆ กากอาหารจะขูดผนังลำไส้ อาจทำให้เป็นแผล และมีปัญหาสุขภาพตามมา ซึ่งถ้าเรากินน้ำผึ้งเพื่อช่วยเคลือบลำไส้จะช่วยลดปัญหาลงได้

การใช้น้ำผึ้งเป็นอาหารและยา


  • ลดการอักเสบ หากมีบาดแผลหรือแผลถลอกให้ล้างด้วยน้ำเบกกิ้งโซดา หรืออบเชย ชาเสจ ชาใบผักชี (ที่เย็นแล้ว) ซึ่งมีสรรพคุณฆ่าเชื้อทั้งสิ้น อาจใช้ชาดำธรรมดา น้ำมันหอม และน้ำมันกระเทียมช่วยล้างด้วยเพื่อห้ามเลือด จากนั้นทาน้ำผึ้งสะอาดบนแผล น้ำผึ้งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็ว
  • รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา ใช้ผงขมิ้นผสมน้ำผึ้งทาบริเวณกลากเกลื้อน วันละ 2 ครั้ง
  • ต้านข้ออักเสบ ผสมน้ำส้มแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนชาลงในน้ำร้อน เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ชงดื่มวันละ 2 ครั้ง
  • แก้อาการท้องผูก กินกล้วยน้ำว้าสุกจิ้มน้ำผึ้งหรือมันต้มสุกจิ้มน้ำผึ้ง ช่วยลดอาการท้องผูกได้เช่นกัน
  • แก้นอนไม่หลับ น้ำผึ้งเป็นยาระงับประสาทอ่อน ๆ ชงน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่นหรือชาดอกไม้ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ ดื่มก่อนนอนจะช่วยให้หลับสบายขึ้น
  • บำรุงเลือด เทน้ำผึ้งครึ่งช้อนโต๊ะใส่แก้ว บีบน้ำมะนาว 1 ซึก ใส่เกลือนิดหน่อยเติมน้ำร้อน ดื่มเป็นยาบำรุงเลือด
  • บรรเทาอาการไอ บีบมะนาวฝานสด ๆ หนึ่งเสี้ยวเข้าปากให้ลงลำคอ และจิบน้ำผึ้งแท้ หนึ่งช้อนโต๊ะ อมไว้ หายไอดีมาก หรือ
    • ส่วนผสม: น้ำผึ้ง 500 กรัม ขิงสด1.2 กิโลกรัม (1 ชั่ง)
    • วิธีทำ: คั้นขิงสดเอาแต่น้ำ แล้วนำมาผสมกับน้ำผึ้งต้มจนแห้ง
    • วิธีกิน: กินครั้งละขนาดเท่าลูกอมจะช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
  • บำบัดเบาหวาน
    • ส่วนผสม: สาลี่หอมหรือสาลี่หิมะจำนวน 5 ลูก น้ำผึ้ง 250 กรัม
    • วิธีทำ: ปอกเปลือกสาลี่แล้วตำให้ละเอียด นำไปคลุกกับน้ำผึ้งแล้วต้มจนเหนียว บรรจุใส่ขวด
    • วิธีกิน: ผสมน้ำกิน ช่วยแก้อาการไอและบำบัดโรคเบาหวานได้
  • ลดความดันโลหิตสูง
    • ส่วนผสม: น้ำผึ้งและงาดำ อย่างละ 50 กรัม
    • วิธีทำ: ตำงาดำให้ละเอียดแล้วคลุกกับน้ำผึ้ง
    • วิธีกิน: ชงกับน้ำร้อนดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูงและบรรเทาอาการท้องผูกเรื้อรัง
  • ช่วยปรับสมดุลร่างกายและควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคปวดข้อ เป็นตะคริวอยู่บ่อย ๆ หรือโรคอ้วน สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี และช่วยบรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งได้มีการพิสูจน์และใช้กันมานานในอเมริกาและยุโรป โดยนำน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อน (Raw Organic Honey) 3 ช้อนชา และน้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ลไม่ผ่านความร้อน (Raw Organic Apple Cider Vinegar) 3 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว ดื่มทุกเช้าหลังตื่นนอน และระหว่างมื้อเป็นประจำทุกวัน จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและสดชื่น
  • สำหรับผิวหน้าสดใส ผู้ที่มีปัญหาสิวเสี้ยนหรือต้องการบำรุงผิวหน้าให้ดูอ่อนเยาว์ มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ หลังจากล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นและเช็ดให้แห้งแล้ว นำกล้วยหอม 1/2 ลูก นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อน แล้วนำมาทาบนหน้า ทิ้งไว้ซัก 10-15 นาที แล้วล้างออก น้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อนจะมีเอ็นไซน์ ซึ่งทำให้หน้าคุณชุ่มชื่นและนุ่มนวลขึ้น
  • เพื่อผมเงางาม หลังสระผมเสร็จนำน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อนผสมกับน้ำมะกอกอย่างละ 3 ช้อนโต๊ะ นำมาชโลมผมแล้วทิ้งไว้ซัก 3-5 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ผมคุณจะนิ่มและเงางามตามธรรมชาติปราศจากสารเคมีใด ๆ


ทดสอบน้ำผึ้งแท้

ปัจจุบันผู้ผลิตบางรายมักใส่สารแปลกปลอมลงในน้ำผึ้ง การตรวจจับด้วยเทคนิคด่าง ๆ จึงเป็นเรื่องยาก นอกจากตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้นซึ่งมีราคาแพงและค่อนข้างยุ่งยาก วิธีที่ดีที่สุดคือควรซื้อน้ำผึ้งจากผู้ขายที่เชื่อใจได้ หรือมิฉะนั้นต้องใช้สายตาประเมินคุณภาพดังต่อไปนี้

  1. มีความข้นและหนืดพอสมควรซึ่งแสดงว่าน้ำผึ้งมีน้ำน้อย มีคุณภาพสูง
  2. มีสีตามธรรมชาติ ตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงน้ำตาล ใส ไม่ขุ่นทึบ
  3. มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งตามชนิดของดอกไม้นั้น ๆ เช่น น้ำผึ้งจากดอกลำไย น้ำผึ้งจากดอกลิ้นจี่
  4. ปราศจากกาก ไขผึ้ง หรือเศษตัวผึ้งปะปน รวมทั้งวัสดุแขวนลอยต่าง ๆ
  5. ไม่มีกลิ่นบูดเปรี้ยว ไม่มีฟอง
  6. ไม่มีการใส่สารปรุงแต่งสี กลิ่น รสใด ๆ ลงในน้ำผึ้ง
  7. การหยดน้ำผึ้งใส่กระดาษไข ถ้าเป็นของแท้จะไม่ซึมแน่นอน
  8. ทดสอบโดยหยดน้ำผึ้งลงในแก้วน้ำชา สังเกตการละลายถ้าเป็นน้ำผึ้งแท้เมื่อคนให้เข้ากันจะไม่ละลายในทันที